วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การทำงาน



HTTP (Hyper Text Transfer Protocol )
     http (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนา http เป็นการทำงานร่วมกัน
ความแตกต่างของ http และ https
เว็บไซต์ที่มี https จะเพิ่มความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลให้กับเรามากขึ้นในขณะที่เราทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะ https จะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ของเราผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ของหน้า ร้านออนไลน์ ทำให้อาชญากรคอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ แต่สำหรับเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ใช้ http อาชญากรคอมพิวเตอร์จะสามารถขโมยข้อมูลที่ถูกส่ง


จากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (เซิร์ฟเวอร์ของหน้าร้านออนไลน์) ได้อย่างง่ายดาย



ที่มา http://www.ninetechno.com/a/website/394-what-is-http.ht

ที่มารูปภาพ https://getgom.com/


HTTPS (Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer)
     HTTPS ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol Secure หรือ Hypertext Transfer Protocol Over SSL(Secure Socket Layer) เป็นการทำงานเหมือนกับ HTTP ธรรมดาแต่ทำอยู่บน SSL เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น มีรูปแบบดังนี้
1. การใช้งาน URL จะเข้าต้นด้วย https:// ตามด้วยชื่อของเว็ปไซต์
2. ทำงานที่พอร์ต(port) 443 (มาตรฐาน)
3. ส่งข้อมูลเป็นแบบ Cipher text คือ มีการเข้ารหัสข้อมูลในระหว่างการส่ง(Encryption) สามารถถูกดักจับได้ แต่อ่านข้อมูลนั้นไม่รู้เรื่อง
4. มีการทำ Authentication เพื่อตรวจสอบยืนยันระบุตัวตน



ที่มา http://na5cent.blogspot.com/2012/04/https.html
ที่มารูปภาพ http://na5cent.blogspot.com/2012/04/https.html




POP3 (Post Office Protocol 3)
     POP3 (Post Office Protocol) เป็น Protocol มาตรฐานที่ใช้งานในการคัดลอกข้อมูล E-mail message ทั้งหมดจาก อีเมลเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อโดยจะทำการอัพเดทเฉพาะข้อมูลใหม่ที่พบในอีเมลเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น และเมื่อดึงข้อมูลมาแล้วโปรแกรม Mail Client มักจะลบข้อมูลใน Mailbox server ด้วยดังภาพ





ที่มา https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html

ที่มารูปภาพ https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html




SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
     SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็น โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการส่ง E-mail Message เท่านั้น ดังนั้นหากตั้งค่าการใช้งานเมลโดยใช้ POP3 หรือ IMAP4 แล้วจึงจำเป็นต้องตั้งค่า SMTP ด้วยเพื่อ ให้โปรแกรม Mail Client สามารถส่งเมลได้ดังภาพ



ที่มา https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html
ที่มารูปภาพ https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html

FTP (File Transfer Protocol)
     FTP (File Transfer Protocol :FTP) มีหน้าที่หลักๆในการส่งถ่ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบ Server โดยการใช้งาน FTP นี้เราต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ออกมา 2 ช่องทางก่อนคือ ช่องทางรับและส่งข้อมูล อีกหนึ่งช่องทางคือ ช่องทางในการรับคำสั่งจากผู้ใช้งาน ก่อนที่จะโอนถ่ายข้อมูลนั้นเราจะต้องใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้กับ Server ก่อน หลังจากนั้นเราถึงจะเห็นโฟลเดอร์ต่างๆที่ถูกเก็บไว้



ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/ftp/
ที่มารูปภาพ http://www.serv-u.com/ftp-server-setup-windows




IP (Internet Protocol)
     ip address คือ เลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดและมีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ยกตัวอย่างเช่น 192.168.1.1 เป็นต้นหรือนิยมเรียกสั้นๆว่า IP ซึ่งตัวเลข IP แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1. Network Address
2. Computer Address




ที่มา http://www.howto108.com/ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html
ที่มารูปภาพ http://www.howto108.com/wp-content/uploads/2011/11/image0031.jpg


TCP/IP (Transfer Control Protocol/Internet Protocol)
     TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้



ที่มา http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php
ที่มารูปภาพ http://www.billslater.com/internet/


DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)
     หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน




ที่มารูปภาพ http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/dhcp/





IMAP (Internet Message Access Protocol)
     IMAP4 (Internet Message Access Protocol) เป็น Protocol มาตรฐานที่ใช้ในการทำงานโดยการตรวจสอบข้อมูลระหว่างอีเมลเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อแล้วทำข้อมูลให้ตรงกัน (Sync) ดังนั้นหากทำการดึงข้อมูลโดยใช้ Protocol ลักษณะนี้จะทำให้ ข้อมูล E-mail message ที่มีในเครื่อง ตรงกับข้อมูล E-mail Message ที่อยู่ใน E-mail Server ดังภาพ



ที่มา https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html
ที่มารูปภาพ https://mail.egat.co.th/owapage/km/mailprotocol.html


ARP (Address Resolution Protocol)     ARP หรือ Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่จับคู่ระหว่าง IP Address ทาง Logical และ Address ทาง Physical (จับคู่ IP Address และ MAC Address)
การทำงานของ ARP
    ขั้นตอนแรกเครื่องที่ต้องการสอบถาม MAC Address ก็จะส่ง ARP Request ซึ่งบรรจุ IP , MAC Address ของตนเอง และ IP Address ของเครื่องที่ต้องการทราบ MAC Address ส่วน MAC Addressปลายทางนั้น จะถูกกำหนดเป็น FF:FF:FF:FF:FF:FF ซึ่งเป็น Broadcast Address เพื่อให้ ARP packet ถูกส่งไปยังเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์คเดียวกัน


ขั้นตอนที่ 2 เมื่อ เครื่องที่มี IP Address ตรงกับระบุใน ARP Packet จะตอบกลับมาด้วย ARP Packet โดยใส่ MAC Address และ IP Address ของตนเองเป็นผู้ส่ง และใส่ MAC Address และ IP Address ของเครื่องที่ส่งมาเป็นผู้รับ packet ที่ตอบกลับนี้เรียกว่า ARP Reply




ที่มา http://cht-jomz.blogspot.com/2015/07/arp.html
ที่มารูปภาพ http://cht-jomz.blogspot.com/2015/07/arp.html

RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
     โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น



ที่มา http://pramnaja.blogspot.com/2007/12/blog-post_06.html
ที่มา http://www.tcpipguide.com/free/t_ReverseAddressResolutionandtheTCPIPReverseAddressR-3.htm

ICMP (Internet Control Message Protocol)      รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล ICMP จะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกรวมอยู่ภายในข้อมูล IP Packet อีกทีหนึ่ง หรือ เป็นผู้รายงานความผิดพลาดในนามของ IP เมื่อโปรโตคอลเกิดความผิดพลาดโดยไม่สามารถกู้คืนได้ Packet ก็จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ยกเลิก Packet แล้วรายงานความผิดพลาดกลับมายังผู้ส่ง ข้อความที่ส่งไปนั้นก็จะถูกทิ้ง
2. การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น
3. โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม
4. เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหา จนไม่สามารถรับ ข้อมูลได้
5. Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ จะมีส่วนของข้อมูล IP Packet ที่เกิดปัญหาด้วย
6. โปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่อง Server ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่



ที่มา https://sites.google.com/site/icmp03/structure-icmp/hlak-kar-thangan
ที่มารูปภาพ https://sites.google.com/site/icmp03/structure-icmp/hlak-kar-thangan


NNP (Network News Transfer Protocol )

     Protocol NNP หรือ Network News Transfer Protocol คือโปรโตคอลในการโอนย้ายข่าวสารระหว่างกัน



ที่มา http://piyarat-if.blogspot.com/




NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)


     เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วเครือข่าย ไม่สามารถหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้ คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายง่าย ไม่ยุงยากซับซ้อน



ที่มา http://www.chaiwbi.com/anet01/p02/t02d.html
ที่มารูปภาพ https://panam.gateway.com/s/tutorials/Tu_848490.shtml

IPX/SPX (Internet Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange)
    เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดกลางและเล็ก ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะไม่สามารถใช้อุปกรณ์และระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้

ที่มา http://www.chaiwbi.com/anet01/p02/t02d.html


UDP (User Datagram Protocol)

     UDP หรือ User Datagram Protocol เป็นวิธีการสื่อสารหรือโปรโตคอลที่จำกัดจำนวนการบริการ เมื่อข่าวสารมีการแลกเปลี่ยน ระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) โดยใช้ร่วมกับ IP บางครั้งเรียกว่า UDP/IP ซึ่ง UDP เหมือนกับ TCP ในการใช้ IP ในการดึงหน่วยข้อมูล (เรียกว่า datagram) จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ต่างจาก TCP โดย UDP ไม่ให้การบริการสำหรับการแบ่งข่าวสารเป็นแพ็คเกต (datagram) และประกอบขึ้นใหม่เมื่อถึงปลายหนึ่ง UDP ไม่ให้ชุดของแพ็คเกตที่ข้อมูลมาถึง หมายความว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ UDP ต้องมีความสามารถในการสร้างมั่นใจว่าข่าวสารที่มาถึงอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง การประยุกต์เครือข่ายที่ต้องการประหยัดเวลาในการประมวลผล เพราะมีหน่วยข้อมูลในการแลกเปลี่ยน (ดังนั้น จึงมีข่าวสารน้อยมากในการประกอบขึ้นใหม่) จะชอบ UDP มากกว่า TCP เช่น Trivial File Transfer Protocol (TFTP) ใช้ UDP แทนที่ TCP เนื่องจากรวดเร็วกว่า UDP เหมือนกัน TCP คือ อยู่ใน Layer ที่ 4 (Transport Layer) ของ OSI


ที่มา http://jodoi.org/protocol.html
ที่มารูปภาพ http://slideplayer.com/slide/6411295/


PPP (Point-to-Point Protocol)      PPP หรือ Point-to-Point Protocol เป็น Protocol สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 ตัว หรือ Router 2 ตัว ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม ตามปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อม ด้วยสายโทรศัพท์ไปที่เครื่อง Server ของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตให้ผู้ใช้ต่อเชื่อมด้วย PPP ทำให้เครื่อง Server สามารถตอบสนองคำขอของผู้ใช้ได้ PPP ยังแบ่งเป็นหลายแบบตามสื่อที่ใช้งาน PPP PAP และ PPP CHAP สำหรับการเชื่อมต่อผ่าน Serial port หรือ PPPoE และ PPPoA สำหรับการเชื่อต่อผ่านสายโทรศัพท์ของระบบ ADSL ซึ่งจะต้องมีการกำหนด Username และ Password ในการเชื่อต่อเสมอ PPP อยู่ใน Layer ที่ 2 (Data-link Layer) ของ OSI



ที่มา http://jodoi.org/protocol.html

ที่มารูปภาพ https://utem-wan.wikispaces.com/Point-to-Point+Protocol+(PPP)

1 ความคิดเห็น:

  1. อะไรคือความเสี่ยงเมื่อใช้เว็บไซต์ที่มี HTTP ในการส่งข้อมูลสำคัญ?
    เข้าถึง Telkom University Jakarta

    ตอบลบ